อาสาสมัครไซแอนโทโลยี นานาชาติ
อาสาสมัครไซแอนโทโลยี (Scientology Volunteer Ministers หรือ VM) คือกลุ่มคนที่ศึกษาปรัชญาศาสนาไซแอนโทโลยี และใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาในการช่วยเหลือสังคม "โครงการอาสาสมัครไซแอนโทโลยี" ก่อตั้งขึ้นจากวิจัยทัศน์ของแอล รอน ฮับบาร์ด ชาวอเมริกันผู้คิดค้นศาสตร์ไซแอนโทโลยี
ในปี พ.ศ. 2519 แอล รอน ฮับบาร์ด เดินทางไปที่กรุงนิวยอร์กเพื่อทำการศึกษาทางด้านสังคมวิทยา เขาพบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย นิวยอร์กเลวร้ายลงอย่างมาก ผิดกับเมืองที่เขาจำได้เมื่อหลายปีก่อน รอนเล็งเห็นว่าสังคมกำลังเดินหน้าไปสู่สังคมที่ไร้ศีลธรรม ใช้ความรุนแรงอย่างเกมกีฬา และท้ายที่สุดก็คือ การปกครองด้วยผู้ก่อการร้ายในคราบนักการเมือง รอนเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งช่วยเหลือผู้คน และสร้างอนาคตที่ดีขึ้น เขาจึงได้ก่อตั้งโครงการระดับรากหญ้า ที่จะช่วยปลูกฝังค่านิยมอันดีงามกลับสู่สังคม และหยุดยั้งความเสื่อมทรามนั้น นั่นเองคือที่มาของโครงการอาสาสมัครไซแอนโทโลยี
รอนกล่าวไว้ว่า:
ในปี พ.ศ. 2519 แอล รอน ฮับบาร์ด เดินทางไปที่กรุงนิวยอร์กเพื่อทำการศึกษาทางด้านสังคมวิทยา เขาพบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย นิวยอร์กเลวร้ายลงอย่างมาก ผิดกับเมืองที่เขาจำได้เมื่อหลายปีก่อน รอนเล็งเห็นว่าสังคมกำลังเดินหน้าไปสู่สังคมที่ไร้ศีลธรรม ใช้ความรุนแรงอย่างเกมกีฬา และท้ายที่สุดก็คือ การปกครองด้วยผู้ก่อการร้ายในคราบนักการเมือง รอนเห็นถึงความจำเป็นในการเร่งช่วยเหลือผู้คน และสร้างอนาคตที่ดีขึ้น เขาจึงได้ก่อตั้งโครงการระดับรากหญ้า ที่จะช่วยปลูกฝังค่านิยมอันดีงามกลับสู่สังคม และหยุดยั้งความเสื่อมทรามนั้น นั่นเองคือที่มาของโครงการอาสาสมัครไซแอนโทโลยี
รอนกล่าวไว้ว่า:
“ถ้าเราไม่ชอบอาชญากรรม ความป่าเถื่อน ความอยุติธรรม และความรุนแรงของสังคมนี้ เราสามารถทำบางสิ่งได้ โดยการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครไซแอนโทโลยี และช่วยทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น มีจิตสำนึกที่ดี มีความเอื้อเฟื้อ มีความรัก และเป็นอิสระจากความทุกข์ยาก เราสามารถทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความดีงาม ความซื่อสัตย์ และการอดทนอดกลั้นค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปในสังคม”
ด้วยเหตุนี้จึงมีกลุ่มอาสาสมัครไซแอนโทโลยี กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก คอยให้ความช่วยเหลือผู้คนทุกระดับชั้นทั้งในยามเกิดเหตุภัยพิบัติ และในชีวิตประจำวันทั่วไป ตั้งแต่ปัญหาครอบครัว จนถึงปัญหาที่ทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไปจนถึงปัญหาการศึกษาเรียนรู้ และปัญหายาเสพติด โดย
ยึดมั่นในคำขวัญที่ว่า ไม่ว่าปัญหาจะเป็นเช่นไรก็ตาม “ยังมีบางสิ่งที่เราสามารถทำได้” เสมอ สัญลักษณ์ของอาสาสมัครไซแอนโทโลยีก็คือ "เต็นท์สีเหลือง" จุดให้ความช่วยเหลือ หรืออบรมสัมมนาด้านการพัฒนาชีวิต อาสาสมัครไซแอนโทโลยีได้ให้ความช่วยเหลือในงานบรรเทาสาธารณภัย ณ พื้นที่เกิดพิบัติภัยหลักๆ กว่า 170 พื้นที่ อาทิเช่น กราวน์ซีโร่ (Ground Zero) หรือพื้นที่เกิดโศกนาฏกรรม 9/11 ที่ตึกเวิร์ดเทรดเซ็นเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา, คลื่นสึนามิถล่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พายุเฮอริเคนคาทรีนา ในรัฐหลุยเซียนา และมิสซิสซิปปี ประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อไม่นานมานี้ อาสาสมัครไซแอนโทโลยีหลายร้อยคนได้เข้าไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศเฮติ คลื่นสินามิที่ประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งพายุทอนาร์โดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มกำลัง |
อาสาสมัครไซแอนโทโลยีได้ให้การอบรมและทำงานร่วมกับกลุ่ม องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกกว่า 800 หน่วยงาน อาทิเช่น สภากาชาด, FEMA , National Guard, Army Cadets, Salvation Army, Boy Scouts, สโมสรโรตารี, กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน, หน่วยบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ, YMCA, สถานีดับเพลิงและสถานีตำรวจของเมืองต่างๆ หลายสิบแห่ง รวมทั้งกลุ่มและองค์กรทั้งระดับประเทศและระดับภูมิภาคอีกหลายร้อยแห่ง
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาสาสมัครไซแอนโทโลยีนานาชาติ คลิ๊กที่นี่
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาสาสมัครไซแอนโทโลยีนานาชาติ คลิ๊กที่นี่
อาสาสมัครไซแอนโทโลยี ประเทศไทย
ศาสตร์ไซแอนโทโลยีเริ่มต้นเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยประมาณปลายพุทธทศวรรษ 2530 โดยกลุ่มคนไทยและชาวอเมริกันที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย คนเหล่านี้รู้จักกับปรัชญา
ไซแอนโทโลยีขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ และได้เห็นถึงประสิทธิภาพของปรัชญานี้เมื่อนำมาใช้กับตนเอง ด้วยจิตใจที่ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พวกเขาจึงได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มไซแอนโทโลยีขึ้นในเมืองไทยและให้บริการอบรมความรู้ด้านการพัฒนาชีวิตตามหลักไซแอนโทโลยีแก่ประชาชนชาวไทย (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับไซแอนโทโลยี ประเทศไทยได้ ที่นี่)
ไซแอนโทโลยีขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ และได้เห็นถึงประสิทธิภาพของปรัชญานี้เมื่อนำมาใช้กับตนเอง ด้วยจิตใจที่ชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พวกเขาจึงได้รวมตัวกันตั้งกลุ่มไซแอนโทโลยีขึ้นในเมืองไทยและให้บริการอบรมความรู้ด้านการพัฒนาชีวิตตามหลักไซแอนโทโลยีแก่ประชาชนชาวไทย (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับไซแอนโทโลยี ประเทศไทยได้ ที่นี่)
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2547 ทันทีที่เกิดเหตุสึนามิ ชาวไซแอนโทโลยีในเมืองไทยรวมตัวกันอย่างเร่งด่วนในฐานะ "อาสาสมัครไซแอนโทโลยี" เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย อาทิเช่น ช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้รอดชีวิต ตลอดจนเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ประสบภัย ช่วยเหลือด้านการขนย้ายศพ การจัดหาสิ่งของยังชีพและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น รวมทั้งใช้ทักษะในการจัดระบบ เพื่อให้ภารกิจบรรเทาทุกข์ภายในศูนย์พักพิงดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย จุดนั้นเองถือเป็นจุดเริ่มต้นของ "โครงการอาสาสมัครไซแอนโทโลยี" ในเมืองไทย โครงการพัฒนาชุมชนและบรรเทาสาธารณภัยภายใต้สังกัดขององค์กรไซแอนโทโลยี
|
หลังจากเหตุการณ์สินามิ อาสาสมัครไซแอนโทโลยีในเมืองไทยรวมตัวกันแบบเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกหลายครั้ง เช่น พายุไซโคลนาร์กิสที่ประเทศพม่า และเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ 2550-2552 จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2553 อาสาสมัครไซแอนโทโลยีนานาชาติ ได้ส่งทีมงานเข้ามาจัดนิทรรศการแสดงภาพความรู้ และให้การอบรมด้านการจัดการภัยพิบัติแก่บุคคลทั่วไป ทำให้เกิดอาสาสมัครเลือดใหม่ ที่เห็นคุณค่าของไซแอนโทโลยี และรวมตัวกันก่อตั้ง "ชมรมอาสาสมัครไซแอนโทโลยี" ขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อสานต่องานด้านบรรเทาทุกข์ และการพัฒนาชุมชนโดยใช้ศาสตร์ไซแอนโทโลยีโดยเฉพาะ เมืองไทยของเราจึงมีหน่วยงานไซแอนโทโลยีอีกหน่วยงานหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีศูนย์กลางตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เริ่มทำงานอย่างจริงจังตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2553 และต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
|